พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ผู้ที่โปรดเกล้าฯ ให้แต่งคำร้องประกอบเพลงพระราชนิพนธ์มีหลายท่าน ได้แก่ มจ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์,ศ.ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา,ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร,ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา,นายจำนงราชกิจ(จรัล บุณยรัตพันธ์),ม.ร.ว,เสนีย์ ปราโมช,ม.ล.ประพันธ์สนิทวงศ์ และท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เป็นต้น
ในยุคแรก หลังจากที่เพลงพระราชนิพนธ์มีทำนองและคำร้องสมบูรณ์แล้ว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน นำไปบรรเลงในวงดนตรีกรมโฆษณาการหรือวงสุนทราภรณ์ เพื่อให้แพร่หลายทั่วไป ปรากฏว่าหลายเพลงกลายเป็นเพลงยอดนิยมทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
สวดมนต์ค่ำเช้าถึงคราวระทมทน
โอ้ชีวิตหนอล้วนรอความตายทุกคน
หลีกไปไม่พ้นทุกข์ทนอาทรร้อนใจ
ต่างคนเกิดแล้วตายไป
ชดใช้เวรกรรมจากจร
นิจจังสังขารนั้นไม่เที่ยงเสี่ยงบุญกรรม
ทุกคนเคยทำกรรมไว้ก่อน
เชิญปวงเทวดาข้าไหว้วอน
ขอพรคุ้มไปชีวิตหน้า
ทุกคนเคยทำกรรมไว้ก่อน
เชิญปวงเทวดาข้าไหว้วอน
ขอพรคุ้มไปชีวิตหน้า
ทนทรมานมามากแล้วจะกราบลา
หนีปวงโรคาที่เบียดเบียน
แสงแววชีวาเปรียบแสงเทียน
หนีปวงโรคาที่เบียดเบียน
แสงแววชีวาเปรียบแสงเทียน
เปรียบเทียนสิ้นแสงยามแรงลมเป่า
ชีพดับอับเฉาเหมือนเงาไร้ดวงเทียน
จุดเทียนถวายหมายบนบูชาร้องเรียน
โรคภัยเบียดเบียนแสงเทียนทานลมพัดโบย
โรครุมเร้าร้อนแรงโรย
หวนโหยอาวรณ์อ่อนใจ
ชีพดับอับเฉาเหมือนเงาไร้ดวงเทียน
จุดเทียนถวายหมายบนบูชาร้องเรียน
โรคภัยเบียดเบียนแสงเทียนทานลมพัดโบย
โรครุมเร้าร้อนแรงโรย
หวนโหยอาวรณ์อ่อนใจ
ทำบุญทำทานกันไว้เถิดเกิดเป็นคน
ไว้เตรียมผจญชีวิตใหม่
เคยทำบุญทำคุณปางก่อนใด
ขอบุญคุ้มไปชีวิตหน้า
ทนทรมานมามากแล้วจะกราบลา
แสงเทียนบูชาจะดับพลัน
แสงเทียนบูชาดับลับไป
ไว้เตรียมผจญชีวิตใหม่
เคยทำบุญทำคุณปางก่อนใด
ขอบุญคุ้มไปชีวิตหน้า
ทนทรมานมามากแล้วจะกราบลา
แสงเทียนบูชาจะดับพลัน
แสงเทียนบูชาดับลับไป
เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ (ขณะดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์) นิพนธ์คำร้องภาษาไทย แต่เนื่องจากมีพระราชประสงค์ ที่จะทรงแก้ไขทำนอง และคอร์ดบางตอน จึงยังไม่โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้นำออกมา บรรเลงในเวลานั้น ต่อมา ได้พระราชทานให้นำออกบรรเลงครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๙๐ และใน พ.ศ. ๒๔๙๖ นางสาวสดใส วานิชวัฒนา (รองศาสตราจารย์ สดใส พันธุมโกมล) ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษถวาย
http://www.youtube.com/watch?v=X8Agu3DOnJQ&feature=related ร้องโดยบี้(สุกฤษ วิเศษแก้ว)
ความน่าสนใจของเพลงพระราชนิพนธ์อยู่ที่ท่วงทำนองซึ่งมีความไพเราะ เป็นอมตะ มีความคลาสสิค ช่วยผ่อนคลายอารมณ์และสร้างความสุขแก่ผู้ที่ได้รับฟัง ตลอดจนเนื้อเพลงหลายๆเพลง มีการประพันธ์ด้วยความประณีต ให้ความหมายของชีวิต และคุณค่าของมนุษย์ที่ดีงาม
งานปริญญานิพนธ์ที่มศว.ประสานมิตรที่กำลังศึกษาอยู่ให้ความสำคัญกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยหรือเด็กวัยอนุบาลซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดต่อการเจริญเติบโตต่อไป การพัฒนาการที่เหมาะสมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์ และสติปัญญาของเด็กไทย ย่อมเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อครอบครัวและสังคม
ความเชื่อมโยงของดนตรีต่อพัฒนาการทางสมองเด็ก เห็นได้ชัดเจนในการที่เด็กได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์หลากหลายด้วยเสียงดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งทำนองเพลง เสียงร้อง เสียงดนตรี สามารถช่วยเสริมสร้างเซลล์ประสาทเส้นใยของสมองเด็กได้ ช่วยให้เด็กอารมณ์ดีมีความสุขด้วยจังหวะของเพลงที่มีความไพเราะต่อเนื่อง
แม้ว่าเด็กเล็กๆจะยังไม่เข้าใจความหมายของเพลงที่มีความเป็นนามธรรม แต่ความคุ้นชินจากการได้รับฟังเพลงเหล่านี้ ย่อมนำไปสู่การให้ความสนใจและใฝ่รู้ในเรื่องคุณค่าของดนตรีต่อไป